ใส แซ่ซ้ง

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คิดริเริ่มดัดแปลงสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

                         คิดริเริ่มดัดแปลงสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
การสร้างสรรค์คืออะไร
    กรสร้างสรรค์  หมายถึง  ความสามารถของมนุษย์ในอันที่จะคิดแก้ปัญหาและพัฒนาจนสามารถประดิษฐ์ผลิตผลใหม่ๆการคิดริเริ่มในสิ่งที่แปลกใหม่   เพื่อสนองความต้องการของตนเอง  และสังคม  ดังนั้นการริเริ่มสร้างสรรค์จึงเป็นการกระทำให้ก้าวหน้าแปลกจากเดิม  ดีขึ้น  งดงามยิ่งขั้น หรือมีคุณค่ายิ่งขึ้น
    การที่มนุษย์รู้จากการสร้างสรรค์  เป็นผลให้โลกได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆเจริญก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน  และเชื่อว่าโลกจะเปลี่ยนไปสู่ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไปในอนาคตอย่างไม่หยุดยั้งตราบใดที่ยังไม่มีการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
การสร้างสรรค์ที่ไม่สูงเกินเอื้อม
    แม้มนุษย์จะมีการสร้างสรรค์  พัฒนาโลกให้เจริญทางวัตถุด้านวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยี  เพื่อการติดต่อสื่อสารและพัฒนาความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย  ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน  แต่ก็ควรมีความพอดีและให้เกิดดุลยภาพระหว่างความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจย่อมจะต้องพัฒนาควบคู่กันตลอดไป
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
     จุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆในโลกนี้  เกิดจากความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของมนุษย์นั่นเอง  จึงมีการศึกษาและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของคนเราให้เจริญงอกงาม  เพื่อเป็นพื้นฐานนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมือง  เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์สามารถที่จะฝึกฝนทดลองปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์  และนำไปสู่การค้นพบแนวทางใหม่ๆ  เพื่อการสร้างงานต่อไป

ประเภทของความคิดสร้างสรรค์
           ความคิดสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น  3  ประเภท ได้แก่
1.    ความคิดสร้างสรรค์ทางความคิด(Creative  in  Beauty)
    ความคิดสร้างสรรค์ทางด้านความคิด  หมายถึง การคิดแสวงหาแนวทางแก้ปัญหา  และพัฒนางานหรือบริหารงานให้ประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้า  รู้จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา  สาเหตุของปัญหา  และแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อนำมาวางแผนงานต่อ
2 . ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม(Creative in Beauty)
          ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม  หมายถึง  การสร้างสรรค์ความงามที่แปลกใหม่ให้งดงามและมีคุณค่ายิ่งขึ้นซึงเป็นความคิดสร้างสรรค์ในทางปฏับัติ  เช่น  การสร้างสรรค์งานศิลปะ  การออกแบบสีสันและลวดลายเสื้อผ้า  การตกแต่งบ้าน  ห้องเรียน  สำนักงาน  ให้มีความงามและแปลกใหม่เป็นต้น
3.  ความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย(Creative  in  function)
          ความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย  หมายถึง  การสร้างสรรค์ดัดแปลงสิ่งต่างๆ  ให้มีคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย  เช่า  งานสิ่งประดิษฐ์  งานศิลปะที่นำวัสดุต่างๆผลิตขั้นให้เกิดประโยชน์ใช้สอย  เป็นต้น
        คุณสมบัติของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์
           ความคิดสร้างสรรค์  สามารถปลูกฝังได้  หากเราสามารถพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1 .  เป็นผู้ที่หมั่นศึกษาหาความรู้  และประสบการณ์ต่างๆอยู่เสมอ  โดยเป็นนักอ่าน  นักค้นคว้า  เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมและการจัดนิทศการต่างๆ
2 .  เป็นผู้ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นโดยไม่ยึดมั่นในความคิดเห็นของตนเองมากเกินไป  มีความคิดในทางประนีประนอม  ยืดหยุ่นและยอมรับความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
3.   กล้าคิด  กล้าทำอย่างมีกระบวนการ  รู้จากศึกษาวิเคราะห์ปัญหา   สาเหตุของปัญหาแนวทางแก้ปัญหาโดยมีทางเลือกอย่างหลักหลายเพื่อนำมาวางแผน  ปฏิบัติตามแผน  และปรับปรุงพัฒนางานให้ดีขึ้น
4 .  เป็นนักแก้ปัญหา  โดยไม่หวั่นไหวหรือท้อแท้ต่อ  ปัญหา  อุปสรรคใดๆ  มีความยินดีและพร้อมที่จะเผชิญกับปปัญหาต่างๆและคิดค้นแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย
5 .  ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แปลกแหวกแนว  ไม่ค่อยเหมือนผู้อื่น  แต่ผลงานที่ปรากฏย่อมมีคุณค่า  และเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นในเวลาต่อมา

            กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะ
 
      การสร้างสรรค์งานศิลปะ   มีกระบวนการหรือขั้นตอนตามลำดับโดยเริ่มต้นจากการรับรู้  หรือสัมผัสกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อม  นำมาสู่การสร้างประสบการณ์หรือการชำนาญ  แล้วจึงเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานศิลปะที่แปลกใหม่ต่อไป  ซึ่งมีขั้นตอนในขั้นรายละเอียดดังนี้
1.  การรับรู้(Perception)
        การรับรู้  หมายถึง  การที่มนุษย์ใช้ประสาทสัมผัสด้านต่างๆ รับรู้และชื่นชมในธรรมชาติ  และสภาพแวดล้อมรอบตัว  ได้แก่การสัมผัสรับรู้ด้วยประสาทตา  ในการมองเห็นความงามของธรรมชาติ  เช่น  ภาพดอกบัวที่ชูช่ออยู่เหนือน้ำภาพดวงอาทิตย์ยามลับขอบฟ้า  เป็นต้น
2.  ประสบการณ์(Experience)
      ประสบการณ์  หมายถึง  การที่มนุษย์ผ่านภาวการณ์รับรู้  ได้เห็น  ได้ฟัง  และได้ปฏิบัติด้วยตนเองมาแล้วบ่อยครั้งจนสั่งสมเป็นประสบการณ์และความชำนาญ  เช่น  ศิลปินที่มีใจรักและชื่นชมความงามของธรรมชาติ  โดยเฉพาะดอกไม้นานาพรรณ  จึงมักจะเข้าไปสัมผัสชื่นชมกับความงามของธรรมชาติเหล่านั้น
3.   จินตนาการ(imagination)
        จินตนาการ  หมายถึง  การคิดสร้างภาพในจิตใจก่อนที่จะสร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นศิลปะ  โดยมีพื้นฐานมาจากการได้สัมผัสรับรู้ธรรมชาติ  และสภาพแวดล้อม  จนเกิดแรงบันดานใจในการสร้างสรรค์ศิลปะ  สั่งสมเป็นประสบการณ์และความชำนาญ  ขยายผลเป็นการสร้าวสรรค์ งานศิลปะด้วยจินตนาการ
            การใช้เทคนิคการเขียนภาพทัศนียภาพจากเส้น
           การเขียนทัศนียภาพ(perspective)  หมายถึง  การเขียนภาพสองมิติบนพื้นระนาบ  ให้มองดูเป็นภาพสามมิติดังที่เห็นปรากฎจริงตามธรรมชาติ  การเขียนทัศนียภาพเป็นพื้นฐานสำคัญในการเขียนภาพทิวทัศน์  การออกแบบสถาปัตยกรรม  การออกแบบตกแต่ง  และการออกแบบผลิตภัณฑ์
            หลักการเขียนเส้นทัศนียภาพ  
เส้นที่ใช้เป็นหลักการเขียนทัศนียภาพแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  ได้แก่
1.  เส้นระดับสายตาหรือเส้นขอบฟ้า(Horizon tai line)
     หมายถึง  เส้นแนวนอนที่อยู่ในระดับเดียวกันกับสายตาของผู้เขียนภาพ  หรือเส้นแนวนอนที่แบ่งระหว่างพื้นดินหรือพื้นน้ำ
1.1  จุดรวมสายตา 1 จุด(one point perspective)      
      เป็นภาพเขียนให้มีจุดรวมสายตาบนเส้นระดับสายตาเพียงจุดเดียว  เมื่อกำหนดจุดรวมสายตาแล้วจึงลากเส้นจากวัตถุไปหาจุดรวมสายตา
2.  จุดรวมสายตา(vanishing point)
    หมายถึง  จุดที่ตั้งอยู่บนเส้นระดับสายตา  ที่เกิดจากการลากเส้นแนวนำสายตาจากวัตถุไปรวมกันที่จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นระดับสายตา  จุดรวมสายตาจะช่วยสร้างภาพวัตถุที่จะเขียนให้มีระยะและขนาดที่ต่างกัน
2.2  จุดรวมสายตา 2  จุด(two point per เส้นจากมุมของวัตถุไปหาจุด spective)
     เป็นการเขียนภาพให้มีจุดรวมสายตาบนเส้น  รวมสายตาทั้ง  2  จุด ระดับสายตา  2  จุด เมื่อกำหนดจุดรวมสายตาแล้วจึงลาก

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเกะสลักไม้

                                                  การแกะสลักไม้
                                 
                                        
      ศิลปะการแกะสลักไม้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ตกทอดสืบต่อเรื่อยมาจนปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชประสงค์จะอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ให้ทรงคุณค่าจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาครูมาสอนวิชานี้แก่สมาชิกศิลปาชีพ โดยทรงเน้นให้ใช้ไม้อย่างคุ้มค่าและและเหมาะที่สุด                                           
                                                  วัสดุที่ใช้ในการแกะสลัก
        ไม้คือวัสดุที่ใช้มากที่สุดไม้ที่ใช้ในการแกะสลักมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดให้ลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสีสันและลวดลายของไม้                                       
                                  ประเภทของการแกะสลักมี 3 ประเภทคือ
           1. ภาพประเภทนูนต่ำ 2. ภาพประเภทนูนสูง 3. ภาพประเภทลอยตัว การแกะสลักไม้มีอยู่สองลักษณะ อย่างหนึ่งคือแกะเป็นภาพนูนบนเนื้อไม้ เช่น หน้าบ้าน บานประตู หน้าต่างโบสถ์วิหารของวัด อีกลักษณะหนึ่งคือการแกะลอยตัวเช่น พระพุทธรูป ตัวละคร สัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น นิยมใช้ไม้สักเป็นวัสดุในการแกะสลัก เพราะมีความอ่อนและเหนียวพอสมควร สามารถแกะสลักได้ลายคมชัดตามต้องการ มีลวดลายสวยงามในเนื้อและมีคุณสมบัติในการดูดซับสีหรือรักเป็นอย่างดี (สมหวัง คงประยูร, ... : 40)เครื่องมือที่ใช้ในการแกะประกอบด้วยสิ่วหน้าต่าง ๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะทำขึ้นเองเพื่อให้ใช้ได้ถนัดมือช่างผู้ทำงานและเหมาะกับงานประเภทใดประเภทหนึ่ง สิ่วแต่ละขนาดใช้ในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ใช้ตอกลงในเนื้อไม้เพื่อเติมเส้นลายและขุดพื้นให้ลึกลง ใช้เจียนปาดตัดลายตั้งเหลี่ยมเป็นชั้นเชิงเพื่อคัดตัวลายให้เด่นชัดขึ้น การแกะครั้งแรกเรียกว่าโกลน เป็นสิ่งสำคัญมากต้องโกลนให้ดีก่อนจึงจะแกะลายแกะรูปต่อได้สัดส่วนถูกต้องสวยงาม เมื่อเสร็จขั้นตอนการแกะแล้ว จึงจะลงรักปิดทองหรือลงสี ลงน้ำมันตามต้องการ                                     
                                          ประเภทการแกะสลักไม้
1.
การแกะสลักภาพลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น
1.
การแกะสลักภาพนูนต่ำ เป็นการแกะสลักภาพให้นูนขึ้นสูงจากพื้นแผ่นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่แบนราบเหมือนภาพลายเส้น
2.
การแกะสลักภาพนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้ลอยสูงขึ้นมาเกือบสมบูรณ์เต็มตัว ความละเอียดของภาพมีมากกว่าภาพนูนต่ำ
3.
การแกะสลักภาพลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ให้มีลักษณะเป็น 3 มิติ มองเห็นได้
                        

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัดแสนเมืองมา

     วัดแสนเมืองมา ตั้งอยู่เลขที่ 133 บ้านมาง หมู่ที่ 4 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
                  วัดแสนเมืองมา อ.เชียงคำ จ.พะเยา

วัดแสนเมืองมา ตั้งอยู่บ้านมาง ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เดิมชื่อว่า วัดมาง เป็นวัดที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ. 2351  สร้างโดยชาวเมืองมาง มณฑลยูนานที่ถูกเจ้าเมืองน่านกวาดต้อนมา วัดสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทลื้อลวดลายบนหน้าบ้น ภายในวิหารมีภาพเขียนวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ หลังคาวิหารที่ซ้อนลดกันหลายชั้น ประดับด้วยช่อฟ้า ซึ่งทำเป็นรูปหงษ์แกะสลัก หรือตัวนาคคาบแก้ว นอกนั้นมีการประดับประดาด้วยไม้แกะสลัก