ใส แซ่ซ้ง

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเกะสลักไม้

                                                  การแกะสลักไม้
                                 
                                        
      ศิลปะการแกะสลักไม้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ตกทอดสืบต่อเรื่อยมาจนปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชประสงค์จะอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ให้ทรงคุณค่าจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาครูมาสอนวิชานี้แก่สมาชิกศิลปาชีพ โดยทรงเน้นให้ใช้ไม้อย่างคุ้มค่าและและเหมาะที่สุด                                           
                                                  วัสดุที่ใช้ในการแกะสลัก
        ไม้คือวัสดุที่ใช้มากที่สุดไม้ที่ใช้ในการแกะสลักมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดให้ลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสีสันและลวดลายของไม้                                       
                                  ประเภทของการแกะสลักมี 3 ประเภทคือ
           1. ภาพประเภทนูนต่ำ 2. ภาพประเภทนูนสูง 3. ภาพประเภทลอยตัว การแกะสลักไม้มีอยู่สองลักษณะ อย่างหนึ่งคือแกะเป็นภาพนูนบนเนื้อไม้ เช่น หน้าบ้าน บานประตู หน้าต่างโบสถ์วิหารของวัด อีกลักษณะหนึ่งคือการแกะลอยตัวเช่น พระพุทธรูป ตัวละคร สัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น นิยมใช้ไม้สักเป็นวัสดุในการแกะสลัก เพราะมีความอ่อนและเหนียวพอสมควร สามารถแกะสลักได้ลายคมชัดตามต้องการ มีลวดลายสวยงามในเนื้อและมีคุณสมบัติในการดูดซับสีหรือรักเป็นอย่างดี (สมหวัง คงประยูร, ... : 40)เครื่องมือที่ใช้ในการแกะประกอบด้วยสิ่วหน้าต่าง ๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะทำขึ้นเองเพื่อให้ใช้ได้ถนัดมือช่างผู้ทำงานและเหมาะกับงานประเภทใดประเภทหนึ่ง สิ่วแต่ละขนาดใช้ในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ใช้ตอกลงในเนื้อไม้เพื่อเติมเส้นลายและขุดพื้นให้ลึกลง ใช้เจียนปาดตัดลายตั้งเหลี่ยมเป็นชั้นเชิงเพื่อคัดตัวลายให้เด่นชัดขึ้น การแกะครั้งแรกเรียกว่าโกลน เป็นสิ่งสำคัญมากต้องโกลนให้ดีก่อนจึงจะแกะลายแกะรูปต่อได้สัดส่วนถูกต้องสวยงาม เมื่อเสร็จขั้นตอนการแกะแล้ว จึงจะลงรักปิดทองหรือลงสี ลงน้ำมันตามต้องการ                                     
                                          ประเภทการแกะสลักไม้
1.
การแกะสลักภาพลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น
1.
การแกะสลักภาพนูนต่ำ เป็นการแกะสลักภาพให้นูนขึ้นสูงจากพื้นแผ่นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่แบนราบเหมือนภาพลายเส้น
2.
การแกะสลักภาพนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้ลอยสูงขึ้นมาเกือบสมบูรณ์เต็มตัว ความละเอียดของภาพมีมากกว่าภาพนูนต่ำ
3.
การแกะสลักภาพลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ให้มีลักษณะเป็น 3 มิติ มองเห็นได้
                        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น