ใส แซ่ซ้ง

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

               กระบวนการสร้างงานออกแบบ
1.             ประวัติความเป็นมาของการออกแบบ
มนุษย์รู้จากการออกแบบมาช้านานแล้ว  จากหลักฐานที่นักโบราณคดีขุดค้นพบปรากฏเป็นที่ยืนยันได้ว่า  มนุษย์สามารถออกแบบสิ่งของเครื่องใช้มานานกว่า 6,000 ปีรู้จากใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบลวดลายบนภาชนะ  เช่น ลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง  จังหวัดอุดรธานี
1.1 ความหมายของการออกแบบ
การออกแบบ(design)คือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือการปรับปรุงดัดแปลงสิ่งเก่าให้มีรูปแบบแปลกใหม่ยิ่งขึ้นโดยใช้กระบวนการทางศิลปะในการวางแผนก่อนลงมือปฎิบัติ  เลือกวัสดุโครงสร้างและวิธีการที่เหมาะสมตลอดจนคำนึงถึงความงาม  และประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน
1.2      ลักษณะของการออกแบบ
การออกแบบที่ดี  ต้องมีลักษณะที่สื่อความหมายได้ง่ายตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  มีความประณีต  สวยงาม  มีคุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ  และจะต้องคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์  วิธีการ  กระบวนการอย่างเหมาะสมอีกด้วย
1.3 ประเภทของการออกแบบ
การออกแบบมีหลายประเภท  ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะและคุณค่าทางด้านความงามและประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
1 .  การออกแบบตกแต่ง
คือ  เพื่อปรับปรุงตกแต่งสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราโดยมุ่งประโยชน์ใช้สอยและความงามเป็นหลัก   การออกแบบตกแต่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันดังกล่าว  ได้แก่  การออกแบบตกแต่งภายในและการออกแบบตกแต่งภายนอก
    การตกแต่งภายใน
คือ  การสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ให้เกิดความสะดวกสบายในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม  โดยอาศัยเหตุผลทางพฤติกรรมและข้อมูลต่างๆของมนุษย์เป็นหลัก
     การออกแบบภาพนอก
คือ  การสร้างสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ให้เกิดความสะดวกสบายในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงามในรูปแบบ  โดยอาศัยเหตุผลทางพฤติกรรมและข้อมูลต่างๆของมนุษย์เป็นหลัก
         2. การออกแบบพาณิชยศิลป์
         การออกแบบพาณิชยศิลป์  คือ  การออกแบบที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า  การโฆษณา   ประชาส้มพันธ์
         สู่กลุ่มเป้าหมาย  คือ  ผู้บริโภค   เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จากสินค้าที่มาอยู่ในท้องตลาดจะได้เลือกบริโภคอย่างเหมาะสม
        
         กับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล
              การออกแบบผลิตภัณฑ์
          คือการออกแบบสิ่งของ  เครื่องใช้ต่างๆ  ภายในครัวเรือน  ภายในสำนักงานที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ในชีวิต ประจำวันของมนุษย์โดยคำนึงถึงความทันสมัย ความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก
         การออกแบบนิเทศศิลป์
คือ การออกแบบติดต่อสื่อสาร  สื่อความหมาย  ความเข้าใจทางสายตาเป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลกลุ่มหนึ่ง  ไปยังบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งทั้งทางการเขียน  การแสดงด้วยท่าทางจนกระทั่งการใช้สื่อต่างๆ
          การออกแบบสถาปัตยกรรม
คือการออกแบบสิ่งก่อสร้าง  ออกแบบอาคาร  เช่น  ออกแบบอาคารที่พักอาศัย  อาคารสำนักงาน   ออกแบบเขื่อน  ออกแบบสะพาน  ออกแบบทางด่วนยกระดับ   ออกแบบศาสนสถาน  เป็นต้น
         สื่อ/อุปกรณ์ออกแบบ
อุปกรณ์การออกแบบ
1.              ดินสอดำ(pencil)   ดินสอดำเป็นเครื่องเขียนขั้นพื่นฐานอย่างหนึ่ง  มีไส้ทำด้วยแกรไฟต์ผสมดินเหนียว  ใช้ในงานออกแบบทั่วๆไปมี 2 ชนิดดังนี้
1.1ดินสอชนิดหุ้มด้วยไม้
1.2ดินสอดำชนิดบรรจุไส้
        2.  ยางลบ(Eraser)   เป็นวัสดุทำด้วยยางไม้หรือพลาดสติก  ส่วนใหญ่ทำเป็นแท่ง  มี  2ประเภทคือ
            2.1 ยางลบที่ทำด้วยยาง
           2.2  ยางลบที่ทำด้วยพลาดสติก
        3. ปากกา(pen)   ปากกาเป็นเครื่องเขียนที่ใช้น้ำหมึกสร้างสรรค์งาน  จึงมีน้ำหมึกสีเข็มและคงทนถาวรใช้ดินสอ  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับงานวาดเส้นและงานออกแบบทุกชนิดมี 3 ประเภทดังนี้
3.1ปากกาปลายแหลมจุมเขียน
3.2ปากกาสปีดบอล
3.3ปากกาเขียนแบบ
4. หมึก   (ink)
   หมึกเป็นอุปกรณ์ประกอบเครื่องเขียน  บรรจุขวดและบรรจุหลอด  มีลักษณะเหลว  หมึกที่ใช้ในการออกแบบส่วนใหญ่เป็นสีดำ  มี 2 ชนิดคือ
1.หมึกจุมเชียน
2.หมึกซึม
5.  วงเวียน(compasses)
   คือ  เครื่องมือประกอบการเขียนมี 2 ขาใช้ในการสร้างวงกลม  ส่วนโค้งและส่วนเว้า  ที่นิยมใช้คือ
1.              วงเวียนดินสอ
2.             วงเวียนปากกา
3.             วงเวียนแบ่ง
4.             วงเวียนคัตเตอร์
6.              พู่กัน (Brush)
พู่กันเป็นอุปกรณ์สำหรับวาดภาพระบายสี  ตอนปลายทำด้วยขนสัตว์หรือใยสังเคราะห์  มีหลายชนิด  แต่จะกล่าวต่อไปนี้เฉพาะพู่กันสีน้ำและพู่กันสีโปสเตอร์เท่านั้น
1.              พู่กันกลมพอง
2.             พู่กันกลมปลายแหลม
3.             พู่กันแบนปลายตัด
7.              สี(colour)
สี คือ คลื่นหรือความเข็มของแสงที่มีกระทบตาเราทำให้เรามองเห็นสีได้
1. ดินสอสี
2. สีน้ำ
3. สีโปสเตอร์
4. สีเมจิก
   
8.              จานสี (pallet)
จานสีเป็นภาชนะสำหรับใส่สีและผสมสี  มีช่องสำหรับบีบสีและช่องสำหรับผสมสี  ควรใช้จานสีที่เป็นสีขาว  ถ้าเป็นจานสีพลาดสติกควรเป็นฟลาดสติกสีขาวทึบแสง  เพราะถ้าใช้จานสีที่เป็นสี  จะทำให้มองเห็นสีในขานสีหลอกตาได้  ส่วนจ่นสีที่เป็นสังกะสี  ด้านนอกจะเป็นสีอะไรก็ได้  แต่ด้านในควรเป็นสีขาวเท่านั้น  เมื่อใช้เสร็จแล้วล้างให้สะอาด  เช็ดให้แห้งแล้วเก็บไว้ที่เดิม
9.               กระดานรองเขียน(plate)
เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับรองรับกระดาษวาดเขียนที่จะดำเนินการปฏิบัติออกแบบทำจากกระดาษอัด  แผ่นไม้อัดหรือวัสดุอื่นที่น้ำหนักเบา
10.       ภาชนะใส่น้ำสี
อาดเป็นขันพลาดสติก  ถังน้พลาดสติกขนาดเล็กหรือภาชนะที่มีน้ำเบา  ควรเตรียมไวเอย่างน้อย  2  ใบมีขนาดใกล้เคียงกัน  ใบหนึ่งสำหรับใส่น้ำล้างพู่กัน  อีกใบหนึ่งสำหรับใส่น้ำผสมสี  งานระบายสีจะสะอาดขึ้นอยู่กับน้ำผสมสีที่ต้องสะอาดด้วย
11.        ไม้ที(T-square)
เป็นอุปกรณ์งานออกแบบ  มีลักษณะเป็นรูปตัว  T   ทำด้วยไม้หรือพลาดสติก  ใช้สำหรับเขียนเส้นตั้งฉากเป็นอูปกรณ์ในการออกแบบ
12.       ไม้สามเหลี่ยม(triangle)
เป็นอุปกรณ์ออกแบบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว  และสามเหลี่ยมมุมฉาก  2  อันคู่กันทำด้วยพลาดสติก  ใช้สำหรับเขียนมุมในองศาต่างๆเป็นอุปกรณ์ประกอบการออกแบบ
13.        เทเพลท  (template)        
ทำด้วยแผ่นพลาดสติกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเจราะรูเป็นรูปทรงเรขาคณิต  เป็นอุปกรณ์ประกอบในงานที่จะทำในงานเขียนแบบจะทำให้งานเขียนแบได้รับความคล่องตัวและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด  มีแบบวงกลม  แบบงวรี  และแบบเหลี่ยม  เมื่อใช้งานแล้วควรเก็บเข้าซองให้เรียบร้อย